Thailand: Time for democracy movement to be clear about how to fight (Da Torpedo คุณดา Redshirt strategy แนวทางเสื้อแดง)

Image removed.
Daranee Charnchoengsilpakul (`Da Torpedo').

By Giles Ji Ungpakorn

September 3, 2009 -- On August 28, Daranee Charnchoengsilpakul (known by her nickname as “Da Torpedo”) was sentenced to 18 years in prison for lese majeste (insulting the royal family) after a secret trial in Bangkok. This is another example of how Thailand is rapidly coming to resemble authoritarian countries like North Korea. Other examples are the use of the Internal Security Law to prevent peaceful demonstrations by the pro-democracy ``Redshirts'' and the way that the unelected prime minister, Abhisit Vejjajiva, urged the military to kill demonstrators in April. What is also shocking is the way that there has been complete silence from so-called “human rights activists” and NGOs and academics in Thailand about what has been going on. This can only be described as shameful. Amnesty International's long-term policy of turning its back on Thai prisoners of conscience, jailed over lese majeste, is also appalling. It throws into question the role of that organisation.

* * *

What you can do
In my view, there is little point in writing letters to the Thai authorities about Daranee Charnchoengsilpakul (“Da Torpedo”). However, what would be more useful is to write to Amnesty International and demand that Amnesty start taking up and campaigning for lese majeste prisoners in Thailand.

You can also send Daranee a post card:

The Central Women’s Prison, Klong Prem,
Ngarm Wong Wan Road,
Lat Yaow, Chatuchak
Bangkok 10900

* * *

Da Torpedo did not commit an act of violence. She did not kill anyone or destroy anyone’s property. She is a pro-democracy activist, a member of the United Front for Democracy against Dictatorship, who made speeches in public. She has been jailed for 18 years for making those speeches.

In Thailand, army officers and state officials who commit violent crimes against the people are free to enjoy power and privileges. The worst crime in the eyes of the Thai ruling elites is to think for oneself and to express those thoughts. This is why Da Torpedo is in prison. This is why Suwicha Takor and others are in prison on lese majeste charges.

The Thai elite want us to be halfwits. They want us to do as we are told and be loyal to ``Nation, Religion and King''. When the leader farts, we all have to fart. If he wears a pink shirt, we must all wear one too. We must all believe that he invented everything that is of value in the country. The elite want us to crawl on the ground in front of them as though we are not human. We must smile like idiots and chant in unison that we “love our king and country”. The problem in Thai society has always been that the rulers are corrupt, brutal and barbaric, while the people are generally good. Yet ``They'' claim the right to lecture us on being good citizens.

Democracy doesn't grow on trees or fall into our hands like ripe fruit. We all have to fight for it and it must be a collective struggle. That means that we must never forget Da Torpedo, Suwicha or other prisoners of conscience in Thai prisons. We must campaign for the abolition of the lese majeste law.

Dispute among Redshirt leaders

The current dispute among Redshirt leaders is not a problem. It is an opportunity for millions of pro-democracy Redshirts to take part in an extremely important debate. We must have this debate in the open, while trying to maintain some unity on specific issues among the Redshirt movement as a whole. A democracy movement, by its very nature, will be full of debate and argument. The debate is about the way forward to democracy. It isn't primarily about personal gain or bravery, although Redshirts are not angels. Current disputes among the royalist ``Yellowshirts'' [the misnamed People's Alliance for Democracy], however, are more about fighting over the rich pickings which come with power and public office. This is because what unites the Yellowshirts in the first place is their defence of personal privilege in the face of popular democracy.

The Redshirts have learnt through struggle since the 19th September 2006 coup that “real democracy” will not just be achieved by mass demonstrations or by winning repeated elections. Demonstrations have been put down by bloody repression and election results have been repeatedly overturned by unconstitutional means. The pro-democracy movement has come to realise that our aims are being blocked by powerful and entrenched interests. It isn't any single person or institution among the elites. It is the army, the courts and top civil servants, the royal family, the Privy Council, and the Democrat Party and its allies. They stand together against the wishes of millions of ordinary Thais. They are against democracy, social justice and progress.

These conservative elites carry two main weapons: the means of violence and the means to try to build legitimacy. The centre of power and violence is the army. But it constantly uses the monarchy to legitimise its actions, and the weak and unprincipled king goes along with this.

The current debate among Redshirts is about reform or revolution as a road to democracy. It isn't about whether or not to overthrow capitalism. The debate is sharp now because we stand at an important juncture. The full power of the elites is now plain for all to see. The question is how to deal with it. Should we compromise by hoping to reform the elites or should we fight to overthrow them?

Former PM Thaksin Shinawatra and the Thai Rak Thai MPs who organised the Redshirt TV program last year called Truth Today (Kwam Jing Wanee), the main leaders of the Redshirt movement, are in the reform camp. They feel that the task of overthrowing the elites is too big, too risky and counter-productive. They want a peaceful road with compromise. They are prepared to keep the monarchy like it is today with minor changes. Many Redshirts would agree with them because they fear violence and upheaval. Revolution risks a bloody crackdown and long jail sentences. It is a difficult task. But reform risks capitulating to the conservative elites. The recent petition to the king to pardon Thaksin, which was supported by this faction and organised by millions of grassroots Redshirts, carries many dangers. It gives power to the king in an undemocratic fashion and can create illusions. But equally it can expose the king and the royalists for being against the people. It has caused a real headache for the conservatives.

Jakrapop Penka, ex-Thai Rak Thai MP now in exile (who is facing lese majeste and other charges), and Surachai Sadarn, a Redshirt leader and former Maoist, are for revolution. So am I. But we may disagree on other issues. I cannot and will not speak for them. That would be unfair. However, they are clear that the monarchy must be reformed. My view is that it is too late to wish for a constitutional monarchy in Thailand on the same model as Britain or Japan. The army generals and the conservative elites have shown that at any time they are prepared to use the monarchy to destroy democracy and rip up the constitution.

Therefore we must abolish the monarchy and cut down the size and power of the army. Thai history teaches us from the 1970s and 1990s that such significant changes in society only come about through mass struggle. Actions by small groups or by armed groups cannot achieve the necessary thoroughgoing changes. A large number of Redshirt activists are now against the monarchy. There is a growing anti-monarchy feeling throughout the country and the elites recognise this.

As a socialist, I would hope that during the revolutionary struggle for democracy, many people will come to realise that parliamentary democracy is not enough. We need economic democracy where the people decide on investment and production. This is the true democracy of Socialism. It is a million miles from the Stalinist dictatorships.

There is no guarantee of success for the revolutionary road in Thailand. It will be a long hard struggle. But I believe that there is no longer any room for reform in order to achieve democracy. The behaviour of the elites since the 2006 coup has proved this.

[Giles Ji Ungpakorn worked in the faculty of political science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. He was forced to leave Thailand after being charged under Thailand's anti-democratic les majeste laws. He is an activist with the socialist Turn Left Thailand group. Visit http://www.pcpthai.org/ and http://wdpress.blog.co.uk/.] 

คดี “ดา” สังคมไทยถอยหลังอีกก้าว เสื้อแดงต้องชัดว่าจะสู้อย่างไร

ใจ อึ๊งภากรณ์

ประเทศ ไทยในปัจจุบันถือได้ว่ามีมาตรฐานเสรีภาพพอๆกับเผด็จการสตาลินิสต์เกาหลี เหนือ เพราะเพียงแต่การพูดอะไรที่ไม่ถูกหูชนชั้นปกครองก็จะโดนจำคุก 18 ปีได้ กรณีของคุณ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ 'ดา ตอร์ปิโด' เป็นอีกกรณีที่เปิดโปงความป่าเถื่อนของระบบการปกครองและระบบศาลของไทยภายใต้ อำมาตย์ การใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อปราบปรามการชุมนุมอย่างสันติ และการที่นายกแต่งตั้งที่จอมโกหกชักชวนให้ทหารฆ่าประชาชน ล้วนแต่ชี้ให้เห็นว่าพวกเสื้อเหลืองพาสังคมไทยถอยหลังไปกว่าห้าสิบปี ยิ่งกว่านั้นการนิ่งเฉยเงียบสนิทของคนที่อ้างตัวว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชน นักเอ็นจีโอ นักข่าว หรือนักวิชาการในไทย ก็เป็นสิ่งที่ควรสร้างความละอายใจอย่างยิ่ง

คุณดา เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง ไม่ได้ฆ่าใคร ไม่ได้ทำลายทรัพย์สินใคร ไม่ได้ทำลายประชาธิปไตยหรือเสรีภาพผู้อื่น เพียงแต่แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง เลยติดคุก 18 ปี ในขณะที่โจรปล้นเสรีภาพ ที่นำปืนและอาวุธมาขู่และฆ่าประชาชน ยังลอยนวล มีตำแหน่งและร่ำรวย ในประเทศไทยอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดในสายตาพวกอำมาตย์ คือการคิดเองเป็นและการแสดงออกรวมถึงการยืนขึ้นเป็นมนุษย์ เขาต้องการให้เราปัญญาอ่อนไปทั้งชาติ ผู้นำว่ายังไงก็ต้องคล้อยตาม ผู้นำตดก็ตดตาม ผู้นำขี้เหม็นก็บอกว่าขี้หอม เขาอยากให้เราเป็นอะไรที่ต่ำกว่ามนุษย์ ให้เรามอบคลานต่อคนเลวทรามที่บังอาจสั่งสอนเรา “ให้เป็นคนดี” ปัญหาของสังคมไทยแต่ไหนแต่ไรคือผู้ปกครองมันเลว แต่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดี

สิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยไม่ใช่มะม่วงสุกที่จะล่นตกลงมาในมือเราเอง เราต้องร่วมกันสู้และร่วมกันเสียสละ เราทอดทิ้งกันไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่รักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย และผู้ที่ยังต้องการปกป้องศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน จะต้องไม่หยุดรณรงค์เพื่อคนอย่างคุณดา หรือคุณสุวิชา หรือคนอื่นๆ ที่ติดคุกอยู่ เราต้องรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่น และต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้

“ความขัดแย้ง” ในแกนนำเสื้อแดงคือโอกาสในการร่วมกันคิดหาทางออก
ผมเข้าใจความรู้สึกของคนเสื้อแดงที่ไม่สบายใจเมื่อเห็นแกนนำเสื้อแดงเถียง และวิจารณ์กัน แต่ความรู้สึกนั้นผิดพลาด การที่แกนนำเสื้อแดงเถียงกันตอนนี้มีรากฐานมาจากแนวความคิดทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวหรือความไร้น้ำยาของใคร มันสะท้อนวิกฤตในสังคมไทยที่เราต้องร่วมกันแก้ และมันสะท้อนความยากลำบากในการแก้ ผมอยากชักชวนให้เราชาวเสื้อแดงมองว่าการถกเถียงเรื่องแนวทางการต่อสู้เป็น เรื่องดี ไม่ใช่ข้อเสียแต่อย่างใด เพราะมันบังคับให้พวกเราคิดตามประเด็นถกเถียง ผมอยากให้เสื้อแดงทุกคนมีส่วนร่วมในการถกเถียงนี้ ขบวนการเสื้อแดงเป็นขบวนการประชาธิปไตยของมวลชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่มานาน ขบวนการประชาธิปไตยในทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศ ย่อมเต็มไปด้วยการถกเถียง และนี่คือจุดแข็งจุดเด่น เราไม่เหมือนเสื้อเหลืองที่ขัดแย้งกันเรื่องการกอบโกยหรือเรื่องอำนาจที่จะ กอบโกย ไม่ว่าจะเป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ คนในแวดวงเบื้องสูง อภิสิทธิ์ เนวิน สุเทพ หรือผู้นำพันธมิตรฯ พวกนี้เป็นเหลืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์พิเศษของเขาแต่แรก เขาเลยทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์เสมอ เสื้อแดงไม่ใช่เทวดา แต่ประเด็นผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ใช่ประเด็นหลักในขณะนี้

คน เสื้อแดงเข้าใจดีว่าปัจจุบันอำมาตย์ครองเมือง ผมอยากให้มองว่าอำมาตย์ดังกล่าวไม่ใช่บุคคลยิบมือเดียว ไม่ใช่สถาบันเดียว แต่เป็นพวกทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง องค์มนตรีและขุนนาง รวมถึงเศรษฐีนักการเมืองเหลือง อำนาจของพวกนี้ทั้งกลุ่มฝังลึกอยู่ ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ทหาร เพราะมีเครื่องมือในการใช้ความรุนแรงเพื่อเผด็จการ แต่พวกนี้ใช้สถาบันเบื้องสูงเพื่อพยายามสร้างความชอบธรรมด้วย อำมาตย์ในทุกที่ทั่วโลกต้องมีอาวุธสองชนิดคือปืนกับการสร้างความชอบธรรม เขาจะคุมทหาร ตำรวจ ศาล คุก และเขาจะคุมสื่อ โรงเรียน และปิดกั้นความคิด

ขบวน การเสื้อแดงเติบโตจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ของคนจำนวนมากหลัง ๑๙ กันยา ในช่วงแรกๆ เราไม่ต้องคิดอะไรหนักเพราะเรามองว่าเรามีมวลชนและมีความชอบธรรม แต่หลังเมษาเลือดเราเริ่มเห็นชัดว่าเราเผชิญหน้ากับอำนาจที่แข็งแกร่ง แค่เดินขบวนและชุมนุมไม่พอ พันธมิตรฯมันเดินขบวนและมีผลเพราะมันใช้ความรุนแรงและมีทหารและคนชั้นสูง หนุนหลัง มันไม่ได้ชนกับอำนาจอำมาตย์ เราเรียนรู้ว่าแค่ชนะการเลือกตั้งหลายรอบก็ไม่พออีกด้วย นี่คือที่มาของการถกเถียงในหมู่แกนนำเสื้อแดงปัจจุบัน และผมมั่นใจว่าในหมู่คนเสื้อแดงรากหญ้ามีการเถียงกันในทำนองเดียวกัน การถกเถียงนี้จะช่วยให้เราชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางต่อสู้ และถ้าเราวิเคราะห์ออก เราจะชัดเจนว่าเราสามารถสามัคคีกันตรงไหนได้ และมองต่างมุมในส่วนไหน โดยไม่ทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอ

ถ้า จะสรุปเหมารวม การถกเถียงครั้งนี้เป็นการถกเถียงระหว่างสองฝ่าย ในแต่ละฝ่ายก็ไม่ใช่ว่าคนจะคิดเหมือนกันหมด แต่เราสามารถจัดเป็นสองกลุ่มได้คือ (1) กลุ่มแกนนำสามเกลอและทักษิณ เป็นกลุ่มที่อยากจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป พร้อมจะหาทางประนีประนอมเพื่อได้ประชาธิปไตยกลับมา โดยไม่ต้องปะทะมากเกินไป แนวนี้คือแนวปฏิรูป ส่วนกลุ่มที่ (2) ประกอบไปด้วยจักรภพและสุรชัย ที่มองว่าประชาธิปไตยแท้จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าไม่สู้แบบปะทะอย่างตรงไปตรงมา นี่คือแนวปฏิวัติ ผมเองก็สนับสนุนแนวคิดกว้างๆ ของกลุ่มที่สองนี้ด้วย

ผม ไม่อยากจะเอาคำพูดไปยัดปากใครหรือความคิดไปยัดใส่หัวใคร ทุกท่านต้องอ่านและฟังสิ่งที่เจ้าตัวพูดเอง ไม่ใช่ไปสรุปแทนหรือบิดเบือนอย่างที่มีคนทำกับผมบ่อยๆ แต่ถ้าจะสรุปคร่าวๆ สองแนวนี้คือทางเลือกระหว่างการค่อยๆปฏิรูปและประนีประนอม กับการปฏิวัติเพื่อสร้างสังคมใหม่ ในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าแนวทางของตนเองเป็นแนวที่ดีที่สุดที่จะนำสังคม ไปสู่ประชาธิปไตย ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวดูเอาเอง แต่จุดร่วมอันสำคัญคือทั้งสองฝ่ายมองว่าจะต้องหาทางข้ามปัญหาอำนาจที่แข็ง แกร่งของอำมาตย์ให้ได้

กลุ่มปฏิรูปประนีประนอมมีข้อดีตรงที่พยายาม จะหาทางสันติที่ไม่ปะทะตรงๆ ไม่เสียเลือดเนื้อมากเกินไป และไม่พยายามทำในสิ่งที่ดูใหญ่โตและยาก แต่ข้อเสียคือมันจะนำไปสู่ประชาธิปไตยจริงได้หรือ? หรือจะนำไปสู่การยอมจำนนในที่สุด? การถวายฎีกามีข้อเสียตรงที่ไปมอบอำนาจให้กับประมุขในลักษณะเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะส่งเสริมอำนาจอำมาตย์ ในด้านความคิดการถวายฎีกาอาจช่วยเปิดโปงความจริงบางอย่าง แต่ในมุมกลับอาจไม่เปิดโปงอะไรใหม่และอาจนำพาคนไปจงรักภักดีกับอำมาตย์ก็ได้

กลุ่ม ปฏิวัติ ไม่ใช่กลุ่มปฏิวัติทุนนิยมเพื่อสังคมนิยม แต่เป็นกลุ่มที่อยากสู้อย่างถึงที่สุดกับอำนาจเผด็จการ และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่น กลุ่มนี้มองว่าการประนีประนอมกับอำมาตย์จะไม่กำจัดอำนาจเผด็จการซึ่งจะ รื้อฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ตลอด ผมไม่อยากพูดแทนคนอื่น และคนอื่นคงมองต่างมุมกับผม ดังนั้นผมจะให้ข้อสังเกตของตนเองเท่านั้นคือ ผมเชื่อว่าเราสร้างประชาธิปไตยแบบที่มีประมุขในรูปแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นคงทำ ไม่ได้แล้วในไทย เพราะพวกทหารและกลุ่มอื่นจะดึงประมุขมาเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย เสมอ การเขียนรัฐธรรมนูญก็ไม่ช่วยเพราะทหารฉีกและละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นสันดาล ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน ต้องลดอำนาจและงบประมาณกองทัพ ต้องปฏิรูปศาลให้หมด ต้องมีระบบลูกขุนประชาชน ต้องปฏิรูปตำรวจ ต้องสร้างสื่อมวลชนของประชาชนแทนสื่อปัจจุบัน และต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา ทุกตำแหน่งสาธารณะต้องมาจากการเลือกตั้ง และต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพราะการแก้นิดๆหน่อยๆ จุดเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จ

ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยแท้ที่เราต้องการนี้ ผมเองหวังอย่างยิ่งว่าประชาชนจำนวนมากจะเริ่มเข้าใจว่าแค่ประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่พอ เราต้องมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วย ประชาชนต้องมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการผลิตและการลงทุน ซึ่งแปลว่าต้องยกเลิกทุนนิยมและนำระบบสังคมนิยมมาใช้ (ซึ่งจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีในลาว เกาหลีเหนือ คิวบา หรือจีน) ในย่อหน้านี้ผมอาจมองต่างมุมหรือมองเหมือนกับคนอื่นในกลุ่มปฏิวัติก็ได้ ผมไม่ทราบ ต้องรอให้เขาอธิบายเอง

ผมต้องยอมรับว่าสิ่งที่เราใน กลุ่มปฏิวัติกำลังเสนอ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลา และที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้พลังมวลชน บทสรุปสำคัญจาก ๑๔ ตุลา และพฤษภา ๓๕ คือการเปลี่ยนสังคมต้องมาจากกระแสมวลชน ไม่ใช่จากคนกลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะติดอาวุธหรือไม่ แต่ถ้าคิดดูให้ดี สภาพสังคมไทยตอนนี้น่าจะสอนให้เราทราบว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็น เรื่องใหญ่อยู่แล้ว ผมไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านพอใจกับประชาธิปไตยครึ่งใบหรือไม่ แต่ผมไม่พอใจ

แนว ปฏิวัติเสี่ยงกับการถูกปราบ และคนที่เสี่ยงที่สุดคือคนในประเทศ(ไม่ใช่ผม) แต่แนวปฏิรูปเสี่ยงกับการยอมจำนนต่ออำมาตย์ เลือกเอาเองครับเพื่อนเสื้อแดงทั้งหลาย

พวกเราถึงทางแยกสำคัญที่ บังคับให้เราต้องคิดหนัก เราไม่ควรเงียบ หรือเอาหัวไปมุดดิน เราควรจะพูดและคิด ควรจะถกเถียงอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด แต่อย่าลืมขยันสร้างความสามัคคีด้วยในเรื่องที่ทำได้ อย่าลืมว่าศัตรูหลักคือพวกอำมาตย์

Submitted by Terry Townsend on Tue, 09/15/2009 - 11:47

Permalink

September 14, 2009

From http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2009/09/14/new-da-torpedo-in-solitary-confinement/

Also available as ดาตกเป็นเป้าถูกข่มขู่ แถมโดนแยกขังเดี่ยว

In an earlier and updated post, PPT briefly noted rumors that Darunee Charnchoensilpak had been put in solitary confinement. This is now confirmed in a Prachatai article (14 September 2009: “Corrections Dept asked to explain Da Torpedo’s solitary confinement” and 12 September 2009: “ทนาย ‘ดา ตอร์ปิโด’ จี้ราชทัณฑ์แจงการกักเดี่ยว-เลือกปฏิบัติ”).

Darunee’s lawyer has  complained to the Corrections Department about “discrimination against his client, including putting her in solitary confinement as a punishment and labeling her as a lèse majesté convict.” He also said that he believed warders were listening in when he talked with Darunee and “prying into confidential documents,” preventing confidentiality.

He wants to know why Darunee is being punished by solitary confinement and why she must wear a new name tag that “identifies her as a lèse majesté convict” and thus exposing her to “hatred from her fellow inmates and warders.” The lawyer adds that the “prison’s practice of having inmates wear different uniforms according to the severity of their punishment amounts to discrimination.”

It seems that 18 years is insufficient punishment for some authorities. PPT suspects that this harassment in a bid to have her drop her plans for an appeal. The royals and their protectors dislike having these matters come to court – even the closed court that was used in Darunee’s case – and receive publicity. Admissions of guilt are all that they want.